ย้อนดูเหตุการณ์ 23 ปี เครื่องบิน Lauda Air โศกนาฏกรรมเครื่องบินตกที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย สังเวยชีวิต 223 ราย

               เหตุการณ์เครื่องบินตก นับเป็นโศกนาฏกรรมสุดสะเทือนใจที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรภาพชวนสลดใจดังกล่าวก็คงยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง และในวันนี้ (27 พฤษภาคม 2558) เราก็ได้ขอนำเหตุการณ์ซึ่งนับได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย ตามที่ คุณซันนี่ โบดแลร์ สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้ มาให้เราได้ย้อนกลับไปมองภาพในวันวานอีกครั้ง เนื่องในโอกาสครบรอบ 23 ปี Lauda Air เครื่องบินตก

               "23 ปี Lauda Air เครื่องบินตก โศกนาฏกรรมครั้งร้ายแรงที่สุดในไทย"

               วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เวลาประมาณ 23:10 น. เที่ยวบิน NG004 ซึ่งบินมาจากท่าอากาศยานไคตั๊ก ที่ ฮ่องกง ด้วยเครื่องบิน Boeing B-767-3Z9ER ชื่อเครื่องบินโวล์ฟกังอะมาเดอุส โมซาร์ท ได้ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา มีผู้โดยสาร 213 คน และลูกเรือ 10 คน ภายใต้การควบคุมของกัปตันชาวอเมริกัน Thomas J. Welch และผู้ช่วยชาวออสเตรีย Josef Thurner
ภาพ B767-3 cockpit นำมาประกอบ                เวลา 23:22 น. Welch และ Thurner ได้รับสัญญาณภาพเตือนว่ามีความผิดพลาดทางระบบที่อาจทำให้ระบบผันกลับแรงขับ (Thrust Reverser) ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานขณะบิน หลังจากได้ศึกษาคู่มือแล้ว ทั้งสองลงความเห็นว่าสัญญาณเตือนนั้นเป็นเพียงเหตุการณ์ปกติและไม่ได้จัดการใด ๆ กับสัญญาณเตือน                เวลา 23:31 น. ระบบผลักดันแรงขับที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานระหว่างที่เครื่องบินอยู่เหนือพื้นที่ป่าและภูเขาบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดสุพรรณบุรี เครื่อง 767 สูญเสียแรงยกและฉีกออกเป็นส่วน ๆ กลางอากาศที่ระดับความสูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล                 เมื่อเวลา 23.20 น. ซากเครื่องบินถูกพบที่ระดับความสูง 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีผู้โดยสารและลูกเรือคนใดรอดชีวิต ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 39 คน ชาวต่างชาติ 184 คน อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหายนะทางการเดินทางทางอากาศที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนถึงปัจจุบัน ทีมกู้ภัยพบร่างของ Welch กัปตัน ยังคงติดอยู่กับที่นั่งของนักบิน                ********************สืบสวนสอบสวน********************                 เมื่อสายการบิน Lauda Air ได้รับทราบข่าวการตกของเครื่อง BOEING 767 เที่ยวบิน NG004 จึงส่งตัวแทนของบริษัทกับทีมวิศวกรการบินที่จะมาร่วมวิเคราะห์สาเหตุการตก รวมถึงเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งออสเตรีย และเจ้าหน้าที่จากองค์กรการบินนานาชาติ (N.T.S.B.) สมาพันธ์การบินสหรัฐฯ (F.A.A.) ต่างก็ทยอยเดินทางเข้าสู่พื้นที่ในอำเภอด่านช้างทันที                 ส่วนหน่วยกู้ภัยของมูลนิธิต่าง ๆ ที่ไปถึงที่เกิดเหตุเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตกลับต้องผิดหวังเนื่องจากไม่พบผู้โดยสารบนเครื่องแม้แต่เพียงคนเดียวที่อาจรอดชีวิต แต่กลับพบกับศพของผู้เคราะห์ร้าย กระจัดกระจายเกลื่อนไปทั่วทั้งบริเวณหุบเขาพุเตย หลังจากทำการลำเลียงศพทั้งหมดออกจากที่เกิดเหตุแล้ว ก็มีเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดยิ่งขึ้นไปอีกคือสามารถทำการพิสูจน์ทราบศพของผู้โดยสารได้เพียงแค่ 72 ศพจากจำนวนทั้งหมด223 คน(ผู้โดยสาร 213 คน นักบิน 2 คน ลูกเรือ (พนักงานต้อนรับ) 8 คน)
  เจ้าหน้าที่นิรภัยการบินหลายหน่วยงานที่เข้าไปตรวจสอบพบชิ้นส่วนหลายชิ้นของ BOEING 767 มีร่องรอยการถูกไฟไหม้ และจากการวิเคราะห์ก็พบว่ารอยไหม้เกิดขึ้นบนอากาศก่อนที่เครื่องจะตกลงสู่พื้นดิน แสดงให้เห็นว่าเกิดจากการฉีกขาดของปีกที่มีน้ำมันบรรจุอยู่แล้วสาดกระจายมาโดนเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน จึงเกิดการลุกไหม้อย่างรุนแรง ประจักษ์พยานสำคัญคือชาวบ้านในหมู่บ้านพุเตยให้การว่า พวกเขาเห็นเครื่องบินระเบิดหรือไม่อย่างน้อยก็เกิดไฟไหม้กลางอากาศก่อนจะตกสู่พื้น
  ประตูห้องโดยสารด้านซ้ายประตูกลางเต็มไปด้วยเขม่าไฟ ถูกพบบริเวณพื้นที่ที่ไม่มีไฟไหม้ แต่ตัวกรอบประตูไม่ได้ถูกไฟและเขม่าคลอก วินิจฉัยได้ว่าประตูนี้ได้รับความร้อนอย่างมากบนอากาศ จากการลุกไหม้ของเครื่องบินจนหดตัว พอสรุปได้ว่าเกิดไฟไหม้เครื่องบินบนอากาศจริง แต่ลุกลามไปไม่ถึงปลายปีกทั้ง 2 ข้างและพื้นผิวด้านขวาของลำตัวบางช่วง อย่างไรก็ตามร่องรอยหลักฐานอันจะนำไปวิเคราะห์ลักษณะการเกิดไฟ สาเหตุที่เกิดไฟ และวิถีการเคลื่อนที่ของเครื่องบินก่อนกระแทกพื้น ถูกลบเลือนด้วยการเกิดไฟไหม้ซากชิ้นส่วนหลายชิ้นหลังการตกกระแทกพื้นแล้ว จากข้อมูลพิกัดน้ำหนักและข้อมูลรวมถึงประวัติการเข้ารับการซ่อมบำรุงของ เครื่อง BOEING 767-300S Lauda Air ทำให้ทราบว่าน้ำหนักบรรทุกอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และตำแหน่งของจุดศูนย์กลางในการถ่วง (ค่า C.G.) ก็เป็นไปตามกำหนด ไม่มีรายงานความผิดปกติทางด้านโครงสร้างของเครื่องบิน หรือตัวเครื่องยนต์ที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุได้เลย เนื่องจากมันมีอายุการใช้งานเพียง 2 ปีเศษ 
            เมื่อตรวจสอบเครื่องยนต์ พบหลักฐานบางอย่างบ่งบอกว่า ส่วนของฝาครอบเครื่องยนต์ (Engine Cowl) ได้รับภารกรรมมากกว่าที่ควรจะเป็น เครื่องยนต์ที่ติดตั้งกับ BOEING 767-300S นี้ เป็นเครื่องยนต์ Pratt & Whitney รุ่น PW4000 ได้รับการออกแบบให้ฝาครอบเครื่องยนต์สามารถรับภารกรรมทางอากาศพลศาสตร์ได้สูงสุด โดยเฉพาะในช่วงที่เครื่องบินวิ่งขึ้น (ใช้กำลังสูงสุด) มีความเสียหายที่ Fan Rubstrips (ยางรอบช่องทางอากาศเข้า) ของเครื่องยนต์ทั้ง 2 แสดงว่ามีแรงกระทำที่ผิดปกติ หรือเกิดจากท่าทางบินที่ผิดปกติ โดยมีรอยสึกเกิดขึ้น จากการวิเคราะห์ลักษณะและความสึกกร่อนของร่องรอยชิ้นส่วนชี้ให้เห็นว่า                1. แรงที่กระทำต่อฝาครอบเครื่องยนต์มีมากกว่าแรงกระทำขณะเครื่องบินวิ่งขึ้น                2. แรงที่กระทำเป็นแรงที่มีทิศทางจากบนลงล่าง และจุดศูนย์กลางของการสึกเลื่อนไปทิศทางตามเข็มนาฬิกา คาดว่าเกิดจากเครื่องบินปักหัวลง พร้อมกับมีการเอียงและส่ายอย่างผิดปกติ ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ และพบว่าเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากขณะนั้นเครื่องบินกำลังไต่ด้วยรอบของเครื่องยนต์ที่สูงมาก ถ้านักบินจะกาง Thrust Reverser โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม นักบินจะต้องผ่อนคันเร่งลงมาที่รอบเบาสุด (Idle) จึงจะสามารถยกคันบังคับ Thrust Reverser (ที่อยู่กับคันเร่งได้) ได้ นอกจากนั้นระบบ Air-Ground ยังป้องกันความดันไฮดรอลิกไปทำให้ Thrust Reverser กาง ซึ่งจากการตรวจสอบการทำงานของระบบนี้กับเครื่องบินอื่นพบว่า สามารถทำงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ระบบไฟฟ้าที่ขัดข้อง อาจเป็นผลให้ Thrust Reverser กางออกเองได้

0 comments Blogger 0 Facebook

Post a Comment

 
ข่าวเทพ © 2013. All Rights Reserved. Share on Ads Network Reviews . Powered by Blogger
Top